Human Right สิทธิมนุษยชนเรื่องสากลระดับโลกที่รัฐบาลยอมรับ

Human Right สิทธิมนุษยชนเรื่องสากลระดับโลก

สิทธิมนุษยชนหรือสิทธิ์ที่มนุษย์ทุกคนมีมาตั้งแต่เกิดเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ในระดับนานาชาติองค์ระหว่างประเทศเองก็ได้มีการยอมรับถึงสิทธิ์ในความเป็นมนุษย์อย่างชัดเจนมากขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งโดยเนื้อใหญ่ใจความแล้ว “สิทธิมนุษยชน” ยังแฝงความหมายอื่น ๆ ได้อีกมากมายและที่สำคัญการทำความเข้าใจในสิทธิของบุคคลแต่ละคนที่มีมาตั้งแต่เกิดอย่างถูกต้องจะช่วยให้การ “ใช้สิทธิ์” ถูกต้องไปด้วยพร้อม ๆ กันเพราะเมื่อมีสิทธิ์คนก็จะต้องมี “หน้าที่” ตามมาด้วยเสมอ

สิทธิมนุษยชน HUMAN RIGHT มีความหมายมากกว่าการแสดงออกอย่างเสรี

สิทธิมนุษยชนการเมืองการปกครองหรือ Human Right มีจุดกำเนิดมาจากความเชื่อทางศาสนาที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ เพศ สีผิว อายุ ฯลฯ แตกต่างกันอย่างมนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่ที่จะมีสิทธิ์ในการรักษาชีวิตของตัวเอง มีอิสระในทางความคิดและมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน จากความเชื่อในทางศาสนาถูกหยิบยกและพัฒนาเข้าสู่หลักสากลระดับโลกหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การย่ำยีเด็กและสตรีจากสงครามทั่วโลกโดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ปัจจุบันหลักในเรื่อง “สิทธิมนุษยชน” ได้รับการยอมรับและประเทศทั่วโลกภายใต้การนำของรัฐบาลที่แตกต่างกันได้ยอมรับถึงการมีสิทธิ์ประเภทนี้ด้วยการตรากฎหมายออกมาเป็นรูปธรรมปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศซึ่งในประเทศไทยก็มีการบัญญัติเช่นกันแต่ด้วยความเข้าใจที่ผิดหลง ผ่านผู้รู้ นักคิดที่ไม่เข้าใจอย่างแตกฉานทำให้คนบางกลุ่มเล่นคำแปลความหมายไปในทางที่ผิดวัตถุประสงค์หลักที่ทั่วโลกต้องการยอมรับ อ้างสิทธิมนุษยชนเพื่อเสรีภาพในการทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจจนลืมไปว่ามีสิทธิ์ก็ต้องมีหน้าที่ด้วยเช่นกัน

แนวทางของสิทธิมนุษยชนที่ทั่วต่างยอมรับร่วมกันผ่าน UDHR

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนหรือ Universal Declaration of Human Right (UDHR) ถือว่าเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะมีระบบการปกครองแบบใดต่างยอมรับในความมีศักดิ์และสิทธิของมนุษย์ในเรื่อง “สิทธิพลเมือง” มนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคทางความคิด ศาสนา และการแสดงความคิดเห็นและเรื่องของ “สิทธิ์ทางเศรษฐกิจ” มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในเรื่องการศึกษา การบริโภคสาธารณสุข

ผลของการรับรองสิทธิพลเมืองและสิทธิ์ทางเศรษฐกิจ

หลักการทั้ง 2 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นของ UDHR ส่งผลให้ทั่วโลกมีการสร้างแนวทางและการบังคับใช้กฎหมาย ข้อกำหนดต่าง ๆ ที่กระทบถึงสิทธิ์ความเป็นมนุษย์ไปในแนวทางเดียวกันได้แก่

  • รับรองว่าเป็นสิทธิที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด เมื่อมีสภาพบุคคลสิทธิเหล่านี้ก็เกิดขึ้นทันที
  • รับรองว่าเป็นสิทธิ์สากล มนุษย์โลกมีสิทธิ์ มีอิสรเสรีและศักดิ์ศรีเท่ากัน
  • รับรองว่าเป็นสิทธิ์ที่ถูกละเมิด จำกัด ยกให้หรือโอนแก่กันไม่ได้
  • รับรองว่าสิทธิมนุษยชนนี้คือสิทธิพลเมืองและสิทธิ์ทางเศรษฐกิจแยกออกจากกันไม่ได้

แม้ทั่วโลกยอมรับสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ร่วมกันแต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าในโลกของความจริงสิทธิ์ในความเป็นมนุษย์เหล่านี้ยังคงถูกเพิกเฉยและถูกละเมิดตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นการคุกคามทางเพศ การค้ามนุษย์ การใช้สิทธิเกินส่วน ฯลฯ แม้จะลูกเด็กเล็กแดงเพียงแค่รู้ภาษาก็สามารถละเมิดสิทธิ์คนอื่นโดยไม่รู้ตัวแล้วโดยปรากฏอยู่ในรูปแบบของการ BULLY หรือบูลลี่นั่นเอง

ผลลัพธ์ของสิทธิมนุษยชนทำให้ทุกคนได้รับสิ่งใดบ้าง

สิทธิมนุษยชนส่งผลให้มนุษย์ทุกคนในโลกใบนี้มีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมกัน รัฐหรือรัฐบาลดูสร้างหลักปฏิบัติมีหน้าที่ออกกฎหมายเพื่อการันตีว่ามนุษย์ทุกคนมี “สิทธิ์” RIGHT กระทำการใด ๆ ก็ได้โดยสุจริตเป็นอิสระ ไม่กระทบกระเทือนล่วงสิทธิ์ผิดหน้าที่บุคคลอื่นภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนี้แล้วสิทธิมนุษยชนยังทำให้ทุกคนมี “เสรีภาพ” FREEDOM ซึ่งความหมายที่แท้จริงหมายถึงการมีการอำนาจที่จะตัดสินใจได้ด้วยตัวเองโดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดอ้างหรือใช้อำนาจแทรกแซง

นอกจากเสรีภาพของคนต้องไม่ถูกแทรกตัดสินใจได้ด้วยตัวเองแล้วนั้น การตัดสินใจการใช้เสรีภาพตามหลัก UDHR ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศนั้น ๆ และสอดคล้องกับสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมด้วย ในส่วนนี้เองที่เกิดปัญหาข้อถกเถียงจนนำไปสู่พฤติกรรมการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมมากมาย ประการสุดท้ายคือสิทธิมนุษยชนก่อให้เกิด “ความเสมอภาค” EQUALITY หมายถึง ความเท่ากันของมนุษย์ในการได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อการดำรงอยู่และได้รับการปฏิบัติต่อกันระหว่างมนุษย์ด้วยความเคารพในสิทธิ์และในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั่นเอง

สรุปสิทธิมนุษยชนกับการเมืองอำนาจรัฐแยกกันไม่ออก

สิทธิมนุษยชนเป็นหลักการพื้นฐานที่วางแนวทางให้รัฐใช้อำนาจและมีหน้าที่ต่อบุคคลที่อาศัยอยู่ในรัฐนั้นอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นพลเมืองโดยแท้ คนต่างด้าว คนต่างชาติหรือเป็นเพียงผู้มาเยี่ยมเยียนชั่วครั้งชั่วคราว การปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งของรัฐและผู้ต้องการใช้สิทธิ์ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเท่าเทียมกัน การประพฤติตนปฏิเสธบทบัญญัติของกฎหมายต้องแสดงออกภายใต้รัฐธรรมนูญที่กำหนด หากไม่เห็นด้วยและไม่ต้องการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของรัฐก็ควรใช้สิทธิ์ตามแนวทางที่กฎหมายบ้านเมืองให้ไว้เพื่อแก้ไขจะถูกต้องที่สุด